ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint)
อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 โดยมีเป้าหมาย
ให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้าย
สินค้า บริการการลงทุน เงินทุน
และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี
อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic
Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานให้
ด้านเศรษฐกิจเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
4 ด้านคือ
1)การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า
บริการ
การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
รวมทั้งการส่งเสริมการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนให้เป็นรูปธรรม
โดยได้กำหน
ดเป้าหมายเวลาที่จะค่อย ๆ ลดหรือยกเลิกอุปสรรคระหว่างกันเป็นระยะ
ทั้งนี้ กำหนดเป้าหมาย
ให้ลดภาษีสินค้าเป็น 0% และลดหรือเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี สำหรับประเทศสมาชิกเก่า 6 ประเทศ
ภายในปี 2553 เปิดตลาดภาคบริการและเปิดเสรีการลงทุนภายในปี
2558 และเปิดเสรีการลงทุนภายในปี 2553
2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียนโดยให้ความสำคัญกับ
ประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน
การคุ้มครองผู้บริโภ
ค สิทธิในในทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
(การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศและพลังงาน
3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม (SMEs) และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่างๆ
เช่นข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN
Integration-IAI) เป็นต้น
เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก
4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค
เพื่อให้อาเซียนมีท่าที
ร่วมกันอย่างชัดเจน เช่น
การจัดทำเขตการค้าเสรีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ เป็นต้น
รวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่ายภายในภูมิภาคให้
เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community)
อาเซียนมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคงเพื่อเสริมสร้าง
และธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค
เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งโดยสันติวิธีเพื่อรองรับการเป็น
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ประเทศสมาชิกได้ร่วมจัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอา เซียน (ASEAN
Political-Security Community Blueprint) โดยเน้น 3 ประการ คือ
1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน
ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำ
เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคม
วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก
ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย
การส่งเสริมและ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม
การต่อต้านทุจริต
การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาธิบาล เป็นต้น
2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชน
ที่ครอบคลุมในทุกด้าน ครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม
ซึ่งหมายถึง
มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาทโดยสันติเพื่อป้องกัน
สงครามและให้
ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกันโดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง
นอกจากนี้ ยังขยายความร่วมมื
อเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น
การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด
การค้ามนุษย์
ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
3)
การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก
กำหนดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้าง
บทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบ ASEAN+3
กับจีน ญี่ปุ่น
สาธารณรัฐเกาหลี
และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็
งกับมิตรประเทศ
และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community)
อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเพื่อทำให้ประชาชนมีการอยู่ดีกินดี
ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียว
โดยมีความร่วมมือเฉพาะด้าน (functional cooperation) ภายใต้ประเด็นเชิงสังคมและวัฒนธรรมที่ครอบคลุมในหลายด้าน ได้แก่
เยาวชน
การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิทธิมนุษยชน สาธารณสุข
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สิ่งแวดล้อม สตรี แรงงาน การขจัดความยากจน
สวัสดิการสังคมและการพัฒนา วัฒนธรรมและสารนิเทศ
กิจการพลเรือน
การตรวจคนเข้าเมืองและกงสุล ยาเสพติด และการจัดการภัยพิบัติ สิทธิมนุษยชน
โดยมีคณะทำงานอาเซียนรับผิดชอบการดำเนินความร่วมมือในแต่ละด้าน
อาเซียนได้ตั้งเป้าการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนในปี 2558
โดยมุ่งหวังในเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปันประชากร
อาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมี
การพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN
Identity)
เพื่อรองรับการ
เป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคม
สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN
Socio-Cultural Community Blueprint) ซึ่งประกอบด้วย
ความร่วมมือใน
6 ด้าน ได้แก่
(1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human
Development)
(2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)
(3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)
(4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability)
(5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building an ASEAN Identity)
(6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขา (Sectural) ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meeting) และระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Council) รวมทั้งการประชุมคณะกรรมการด้านสังคมและวัฒนธรรม (Senior officials Committee for ASEAN Socio-Cultural Community)
(2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection)
(3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights)
(4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability)
(5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building an ASEAN Identity)
(6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขา (Sectural) ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Meeting) และระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) คณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Council) รวมทั้งการประชุมคณะกรรมการด้านสังคมและวัฒนธรรม (Senior officials Committee for ASEAN Socio-Cultural Community)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น